วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่15


ความรู้ที่ได้

- ความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะ


  • ได้รู้จักการแก้ปัญหาในการสอน
  • การวางแผนในการทำงานกลุ่ม ทำงานเป็นระบบ
  • การเขียนแผน
  • วิธีการนำเสนองานที่ถูกต้อง
  • วิธีการสอนเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ

เทคนิค

  • การใช้คำถามปลายเปิด ระดมความคิด
  • เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการกล้าแสดงออก
  • การเขียนแผนโดยใช้ my map แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่การเขียนแผน
  • การใช้สื่อในการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเรียนรู้ง่ายขึ้น

บันทึกการเรียนประจำวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558 (เรียนชดเชย)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

ความรู้ที่ได้




ทักษะ

-วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
- วิคราะห์คำถามร่วมกับเพื่อน
- การแสดงความคิดเห็น


วิธีการสอน

-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง


ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน  จดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

- แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

ความรู้ที่ได้

-  นำเสนอการสอน รื่อง ดอกไม้

วิธีการสอน  ให้เด็กร้องเพลงดอกไม้ ถามชนิดดอกไม้ในเพลง แล้วถามความรู้เดิมของเด็กว่ารู้จักดอกไม้ชนิดอื่นไหมนอกจากในเพลงไหม หลังจากนั้นให้เด็กนับจำนวนดอกไม้ทั้งหมดพร้อมบอกชื่อ แยกประเภท ดอกกุหลาบออกจากกลุ่มโดยการจับคู่ 1ต่อ 1 ดอกกุหลาบหมดก่อนแสดงว่าดอกกุหลาบน้อยกว่า แล้วก็ทบทวนกับเด็กว่า วันนี้เราเรียนเรื่อง ดอกไม้ เด็กได้รู้จักชนิดของดอกไม้ มะลิ กุหลาบ ทานตะวัน พุทธซ้อน

      เพลง ดอกไม้ 


ดอกไม้มีนานาพันธุ์
 
มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง
 
 ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง
 
เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอยๆ
 
 
 
 
- สุ่มเพื่อนออกไปสอน  คือ นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
 
   สอนโดยใชขนม แล้วถามเด็กว่าขนมมีทั้งหมดกี่ชิ้น  แล้วก็นับจำนวนขนมทั้งหมดทีละชิ้นพร้อมกัน
 
- วิธีการประเมิน   
  • สังเกต
  • ทดสอบ
  • สัมภาษณ์
  • สนทนา
  • ผลงาน
วิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย คือ  การสนทนาและผลงาน
 
- เทคนิคการสอนเด็กให้เรียนรู้แบบต่อเนื่อง ก็คือต้องใช้ สารสัมพันธ์ผู้ปกครอง
 
 
ทักษะ

-วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
-การร้องเพลง
- วิคราะห์คำถามร่วมกับเพื่อน
- การแสดงความคิดเห็น


วิธีการสอน

-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การประเมิน การนำเสนอการสอนของนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน  จดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้อง มีคุยกันบ้างบางเวลา

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด


 
 
 


วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวัน พุธ ที่ 8 เมษายน 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้

-  แต่ละกลุ่มสาธิตการนำเสนอการสอน

  • กลุ่มที่ 1 เรื่อง กล้วย


 

วิธีการสอน สอนเด็กร้องเพลงกล้วยแล้วให้เด็กทายชนิดกล้วย จับคู่กล้วย แล้วนับจำนวนกล้วย ถามถึง              ประโยชน์

เพลงกล้วย

 กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย


ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน

กล้วยส้มกล้วยหอมกล้วยไข่

ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า

ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า

ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย



  • กลุ่มที่2 เรื่อง แตงโม





วิธีการสอน สอนร้องเพลงแตงโม แล้วถามชนิด เล่นเกมแยกประเภทแตงโมโดยการให้เด็กติดตามรูปขนิดของแตงโม นับจำนวนชนิดของแตงโมที่มากกว่า

เพลงแตงโม 
 แตงโม แตงโม แตงโม

โอ้โห แตงโมลูกใหญ่

เนื้อแดงเรียกจินตหรา

เนื้อเหลืองนี้หนาเรียกน้ำผึ้ง


  • กลุ่มที่3 เรื่อง สุนัข 






 วิธีการสอน  สอนร้องเพลงสุนัขถามความรู้เดิมว่าเด็กรู้จักสุนัขชนิดอะไรบ้างและในเนื้อเพลงมีสุนัขชนิดไหนบ้าง แล้วให้เด็กนับจำนวนชนิดของสุนัข แยกประเภทของสุนัขว่าชนิดไหนมากกว่า

เพลงสุนัข
บ๊อกๆๆๆๆ บ๊อกเป็นเสียงของน้องหมา 

เด็กๆรู้มั้ยหน้าตา (ซ้ำ) ของน้องหมานั้นน่ารักดี

 หมามีหลายชนิด   ไหนลองคิดๆช่วยกันสิ

เด็กๆช่วยตอบครูที (ซ้ำ) ชนิดน้องหมานี้นั้นมีอะไร 

เช่นโกเด้น บางแก้ว ชิวาๆ พุดเดิ้น บรู๊ๆ


  • กลุ่มที่4 เรื่อง ไก่







 วิธีการสอน สอนเด็กร้องเพลงไก่ กระต๊าก กระต๊าก แล้วถามเด็กว่ารู้จักไก่อะไรบ้าง

เพลงไก่ 
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา

ไก่ชนเดินมา แล้วร้องว่ากระต๊ากๆ

ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา

ไก่แจ้เดินมา แล้วร้องว่า กระต๊ากๆ


- เก็บตกเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนองาน

  • เลขที่18 นางสาวยุภา ธรรมโครต นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ฝึกคิดสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมศิลปะ
ใช้กิจกรรมก้อนหินแปลงกาย ให้เด็กเลือกก้อนหินคนละ 1 ก้อน แล้วให้เด็กตกแต่งโดยใช้กระดาษ ดินน้ำมัน สี ออกแบบตกแต่งเองตามจินตนาการ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องขนาด สี และรูปทรง
  • เลขที่ 12 นางสาวเจนจิรา เทียมนิล นำเสนอบทความ เรื่องการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การกระตุ้นประสาทสัมผัสแตะต้อง เช่น การหยิบจับของเล่น ขนาดรูปทรง สิ่งต่างๆรอบตัว

 เรื่องประสาทสัมผัส น้ำหนัก ขนาด พื้นผิว เสียง เป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก

ทักษะ

ได้กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา เเละได้ช่วยกันระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน 

ได้กระบวนการคิดการทำงานเป็นกลุ่ม เเละได้ทักษะในการถามคำถาม

 ในส่วนที่เพื่อนนำเสนอบทความ เช่น เราไม่เข้าใจหรือฟังไม่ทันก็สามารถตั้งคำถาม ถามได้

 ได้ฝึกเรื่องเหตุผลต่างๆที่บางทีการตอบคำถามอาจราย์อาจเป็นคำตอบที่ไม่ตรงกับเพื่อน

เเละหัดเป็นผู้รับฟังที่ดี


วิธีการสอน

สอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดคำตอบ 

โดยช่วยกันระดมความคิด จากหลายๆคำตอบ พื่อนำมาเรียบเรียงเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ 

โดยอาจารย์จะรับฟังคำตอบอย่างมีเหตุมีผล

เเละในคำตอบไหนที่ไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็จะตอบคำตอบนั้นให้สมบูรณ์แบบครบถ้วน
นำเสนอการสอนตามเผนเเละสอนอย่างครอบคลุมตามหัวข้อที่เราเขียนไว้


ประเมินห้องเรียน
  • สภาพห้องเรียนมีความสะอาด เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา 
  • ไม่ชำรุดทรุดโทรม เครื่องปับอากาศอยู่ในอุณหูมิที่พอดี 
  • ไม่หนาวเย็นเกินไป เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดี


ประเมินตนเอง
  • ไม่ชำรุดทรุดโทรม เครื่องปับอากาศอยู่ในอุณหูมิที่พอดี 
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอนเละตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม
  • นำสิ่งที่ครูบอกไปปรับปรุงในครั้งถัดไป

     
ประเมินเพื่อน

  • เพื่อนๆในห้องให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม เเละตอบคำถามกันอย่างสนุกสนานเพราะได้ช่วยกันตอบและเกิดข้อสงสัยเละทำให้การรียนสนุกสนานยิ่งขึ้น


ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ตอบคำถามได้อย่างชัดเจนในเรื่องที่เราอยากจะรู้ เเละมีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดี เนื้อหาครบถ้วนและมีการสรุปการสอนให้นักศึกษาฟังอย่างชัดเจน 




บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 3 เมษายน 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่11

ความรู้ที่ได้


- เก็บตกเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอโทรทัศน์ครูและงานวิจัย

  • เลขที่ 25 นำเสนอโรทัศน์ครู เรื่องรายการทอค์ด อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1
         การจะสอนเด็กให้ดีสอนให้ง่าย ต้องสอนผ่านของเล่น เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้ สี ขนาด รูปทรง
แล้วค่อยใช้สัญลักษณ์ตัวเลขเพราะเด็กอนุบาลจะเรียนรู้แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งครูจะสอนโดยใช้แกะเป็นสื่อโดยการถามเด็กผ่านสีของตัวแกะ เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องขนาดแล้วสอดแทรกเรื่องการนับให้เด็กนับจำนวนแกะและใช้สัญลักษณ์ตัวเลขอีกวิธีหนึ่งคือวางตัวเลข 1 2 3 แล้วให้เด็กเอากระดุมวางตามจำนวนตัวเลข


  • เลขที่4 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
     ใช้การสอนแบบสาธิตและปฏิบัติจริงเป็นรายบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งคนในบางกิจกรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เด็กทำงานไปตามลำดับความยากง่าย และเป็นไปตามความสามารถ และจังหวะ ช้า-เร็วของเด็ก โดยจัดให้เด็กรู้วงจรของงานคือ หยิบงานจากชั้นอุปกรณ์ ปฏิบัติงานจนเสร็จ แล้วจึงนำอุปกรณ์นั้นเก็บคืนชั้นด้วยตนเอง เด็กมีอิสระในการเลือกอุปกรณ์ทำงานด้วยตนเอง
 เด็กสามารถทำงานกับอุปกรณ์นานเท่าที่เด็กต้องการ ในการปฏิบัติกิจกรรมผู้วิจัยเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นให้กับเด็กก่อนที่เด็กจะทำงานด้วยตนเอง ถ้าเด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานกับอุปกรณ์แต่ละอย่างผู้วิจัยจะทำการสาธิตอีกครั้งหนึ่งจนกว่าเด็กเกิดความเข้าใจและสามารถทำงานนั้นๆ ได้ด้วยตนเอง  เป็นการจัดศึกษากลุ่มประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวทาง

     วิธีการของมอนเตสซอรี่ โดยผู้วิจัยคัดเลือกกิจกรรม 15 กิจกรรม ให้สอดคล้องเหมาะสมกับอายุของ
เด็กปฐมวัยที่จะศึกษา คือ อายุระหว่าง 4-5 ปี 

  • เลขที่5 นำเสนอวิจัย เรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการ
     ศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียน
กาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก        ประสบการณ์โดยการใช้เกมการศึกษาเเละเพลง 30 คน
กลุ่มที่สอง    จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 30 คน

เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มี
ความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

  • เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  
  ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้       
1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสใเด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอดแทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำกิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร   
 2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกตขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง     
3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดยการจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

- แบ่งกลุ่มเขียนมายแม็บและแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีหัวข้อเรื่องคือ สุนัข กล้วย แตงโม ไก่

 ซึ่งการออกแบบกิจกรรมจะต้องประกอบไปด้วย
  1. ศึกษา สาระที่ควรเรียนรู้
  2. วิเคราะห์เนื้อหา
  3. ศึกษาประสบการณ์สำคัญ
  4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
  5. ออกแบบกิจกรรม
กลุ่มของข้าพเจ้าได้เรื่อง สุนัข



แล้วนำเนื้อหาดังกล่าวนี้ไปเขียนแผนการสอน

ทักษะ

กระบวนการการทำงานเป็นกลุ่ม

การพูดคำเเต่ละให้ชัดถ้อยชัดคำ

รู้จักการตั้งคำถามในหัวข้อที่ควรจะเน้นเป็นสำคัญ เเละไหวพริบในการตอบคำถาม

คิดวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอนเรียงลำดับ


วิธีการสอน

-สอนโดยการใช้สื่อภาพประกอบรูปสัตว์ต่างๆเพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดการสอนโดยใช้เเผน

-เพื่อให้รู้ว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัวในแต่ละวัน

- สอนโดยการให้ผู้เรียนเป็นสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง

-เมื่อสิ่งไหนที่ไม่เข้าประเด็นอาจารย์ก็จะเสริมต่อเเนะนำให้เพื่อให้ได้วามรู้ที่ถูกต้อง



ประเมินห้องเรียน

- สภาพห้องเรียนสะอาด ไม่มีขยะ อากาศอยู่ในอุณหภูมิที่พอดี มีจำนวนเก้าอี้ที่เพียงพอต่อนักศึกษา


ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังเเละให้ความร่วมมือกับสิ่งที่ครูสอนเเละการทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการพรีเซ้นต์งานร่วมกับกลุ่ม


ประเมินเพื่อน

- เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนเเต่ละกลุ่มที่ออกไปนำเสนองาน ช่วยกันถามในข้อที่ไม่เข้าใจ ช่วยกันขยายความรู้ออกจากสิ่งเดิมที่แต่ละลุ่มนำเสนอ

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงตามเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม  เเนะนำเรื่องการนำเสนอเเละวิธีการนำไปปรับปรุงใหม่ในครั้งหน้าอย่างสมบูรณ์




วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่10


***  สิ่งที่ได้รับมอบหมายงานให้แบ่งกลุ่ม  8  กลุ่ม

เลือกมา  1  สาระ  -  แต่งนิทาน

                            -   คำคล้องจอง

                            -   ปริศนาคำทาย

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินงาน  2  กลุ่ม

สาระที่  2  การวัด

สาระที่  3  เรขาคณิต  2  กลุ่ม

สาระที่  4  พีชคณิต

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์





  • นิทาน  เรื่อง....รูปทรงหรรษา

เช้าวันหนึ่งอากาศแจ่มใส  ตุ๊กติ๊กตื่นขึ้นแต่เช้า  อาบน้ำ  ล้างหน้า  แปรงฟัน  และลงไป

ทานข้าวเช้ากับคุณพ่อ  คุณแม่  ตุ๊กติ๊กสังเกตเห็นอะไรดุ๊กดิ๊กอยู่ในพุ่มไม้  ตุ๊กติ๊กจึง

บอกคุณพ่อให้พาเดินไปดูที่พุ่มไม้  เสียง "บ๊อก บ๊อก"  ดังขึ้นและวิ่งออกมาหาตุ๊กติ๊กทันที

ตุ๊กติ๊กชอบสุนัขตัวนี้มากจึงขอคุณพ่อเลี้ยงสุนัข  และชวนคุณพ่อสร้างบ้านให้สุนัขอยู่

ตุ๊กติ๊กช่วยคุณพ่อเตรียมอุปกรณ์และเล่นกับสุนัขจนเผลอหลับไป  ในความฝันตุ๊กติ๊กฝันไปว่า  

ได้ยินเสียงร้องไห้  ตุ๊กติ๊กจึงเดินไปดูจึงเห็นเทวดาทรงกลมนั้งร้องไห้อยู่ในครัว  

เป็นผลกลม ๆ มีสีส้ม   ตุ๊กติ๊กจึงเข้าไปถามว่า  "คุณเทวดาทรงกลมร้องไห้ทำไมค่ะ"

เทวดาทรงกลมจึงตอบว่า "เราผลัดหลงกับพี่น้องของเรา   เจ้าช่วยตามหาพี่น้องเราหน่อยได้ไหม"

ตุ๊กติ๊กจึงตอบว่า  "ได้ค่ะ"  เทวดาทรงกลมจึงบอกลักษณะพี่น้องทั้งสี่ให้ตุ๊กติ๊กฟัง

พี่น้องของเรามีทรงกระบอก  ทรงสี่เหลี่ยม  ทรงกรวย  และทรงสามเหลี่ยม  

ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทรงกลมเดินลงมาจากห้องครัว  ทันใดนั้นเอง  ตุ๊กติ๊กสังเกตเห็น

เทวดาทรงกระบอกยืนอยู่ตรงถังขยะในห้องน้ำ  เทวดาทรงกลมดีใจที่ได้เจอวิ่งเข้าไปกอดทันที  

ตุ๊กติ๊กพาเทวดาทั้งสองเดินต่อไป  เข้าไปในห้องนั้งเล่นจึงไปเห็นเทวดาทรงสี่เหลี่ยมนั้งอยู่ข้าง ๆ 

กล่องใบหนึ่ง  ทั้งสามดีใจวิ่งเข้ากอดกันทันที  ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทั้งสามเดินต่อไป  ตุ๊กได้ยินเสียง

เหมือนคนลื้อของในห้องเก็บของ  ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทั้งสามเข้าไปในห้องเก็บของ ทันใดนั้นเอง

ตุ๊กติ๊กก็มองไปเห็นเทวดาทรงกรวยอยู่บนหมวกคริตมาส  ทั้งสี่ดีใจวิ่งเข้ากอดกันทันที  

เหลือแต่เพียงน้องคนสุดท้อง  คือเทวดาทรงสามเหลี่ยม  แต่เดินจนทั่วบ้านยังไงก็ไม่เจอ  

จนกระทั้งได้ยินเสียงขอความช่วยเหลืออยู่หน้าบ้าน  "ช่วยด้วย  ช่วยด้วย  เรากำลังจะโดนกิน"  

ตุ๊กติ๊กและเทวดาทั้งสี่ตกใจรีบวิ่งตามเสียงมาดู  ก็เห็นเด็กชายคนหนึ่งกำลังถือโคนไอศครีม 

และมีเทวดาทรงสามเหลี่ยมติดอยู่ด้วย  ตุ๊กติ๊กจึงรีบวิ่งเข้าไปขอไอศครีมจากเด็กชายคนนั้น

และซื้อไอศครีมโคนใหม่ให้  เทวดาสามเหลี่ยมจึงปลอดภัย  เทวดาทั้งห้าดีใจวิ่งเข้ากอดกันทันที

ก่อนเทวดาทั้งห้าจะหายไป  เทวดาทรงกลมจึงให้ตุ๊กติ๊กขอพรในสิ่งที่อยากจะได้  ตุ๊กติ๊กจึงขอ

บ้านให้สุนัข หลังจากที่ตุ๊กติ๊กพูดจบ  ตุ๊กติ๊กก็สะดุงตื่นขึ้นมา  พร้อมกับรอยยิ้มที่ได้ช่วยเหลือ

เทวดาทั้งห้า  เสียงคุณพ่อดังขึ้น  "ตุ๊กติ๊กบ้านสุนัขเสร็จแล้วนะลูกมาดูเร็ว"  ตุ๊กติ๊กดีใจรีบวิ่ง

ออกไปดูเห็นบ้านสุนัขที่ประกอบไปด้วยเทวดารูปทรงต่าง ๆ   ตุ๊กติ๊กวิ่งเข้าไปกอดคุณพ่อและ

เล่าความฝันให้คุณพ่อฟังอย่างภาคภูมิใจ


  • คำคล้องจอง

      ลูกวัวยืนอยู่ใกล้       ฟางกองใหญ่ริมท้องนา

    แม่วัวเฝ้าห่วงหา        คอยมองตามมิห่างไกล

     ลูกหมาวิ่งมุ่งมา          อยู่ไม่ห่างไกลออกไป

ลูกวัวเห็นแสนตกใจ        วิ่งหลบใต้ท้องแม่วัว

  • ปริศนาคำทาย

เป็นวงกลมๆ รูปรงสวยงาม
เพื่อนตอบ "หนังยาง" แต่ยังไม่ใช่


เป็นวงกลมๆ รูปทรงสวยงาม
มีความตื้นบาง เพื่อนตอบ "ฝาน้ำ" แต่ยังไม่ใช่


เป็นวงกลมๆ รูปทรงสวยงาม มีความตื้นบาง มีเกลียวเหล็กสว่างข้างใน 
เพื่อนตอบ "ล้อรถ" ใช่เเล้ว ถูกต้องเลย


สี่เหลี่ยมเป็นกรอบ ขอบๆใสๆ
เพื่อนตอบ "ขอบผ้าใบ" เเต่ไม่ใช่เลย


สี่เหลี่ยมเป็นกรอบขอบๆใสๆ ตั้งวางไว้ได้
 เพื่อนตอบ "ขอบประตูไง" ก็ยังไม่ใช่อยู่ดี


สี่เหลี่ยมเป็นกรอบ ขอบๆใสๆ ตั้งวางไว้ได้ ใส่รูปได้สวยดี 
เพื่อนตอบ "กรอบรูป" ตอบถูกต้องเลย

  • ทักษะ
 -วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
 - นำเสนอคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย นิทานคณิตศาสตร์

  • วิธีการสอน
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

  • ประเมินสภาพห้องเรียน
- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

  • ประเมินตนเอง
- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน  จดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

  • ประเมินเพื่อน
-  เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี

  • ประเมินอาจารย์
- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด



วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

ความรู้ที่ได้


- ทำกิจกรรมตารางก่อนเรียน เปรียบเทียบวิเคราะห์ความเหมือน ความแตกต่างของผลไม้







- นำเสนอวิจัย

  •  เลขที่22  เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4ขั้นตอน คือ การกระตุ้นการเรียนรู้  กรองมโนทัศน์หรือการมองให้เห็หนรูปภาพ การพัฒนาศิลปะ สรุปสาระสำคํญ ซึ่งทั้ง4ขั้นตอน นี้ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในเรื่องของการจำแนก บอกตำแหน่ง การตอบปากเปล่า ทักษะการรู้ค่าจำนวน
  • เลขที่ 24 เรื่อง พัฒนาความพร้อมคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
สอนผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวและเพลง โดยจะแบ่งวิธีการสอนออกเป็น5ขั้นตอนด้วยกัน คือ 
- ครูเปิดเพลงที่มีเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้เด็กฝึกร้อง
- ให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลง
- ครูสร้างกติกาให้เด็กได้เล่นเกมจากเพลงนอกเหนือจากการเต้นและร้องเพื่อให้เด็กได้สนุกสนาน เรียนรู้ผ่านการเล่น
- ช่วงเวลาอื่นก็จะเปิดเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้เด็กฟัง
- จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเปลี่ยนเพลงไปเรื่อยๆ

การจัดกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เรื่อง สูง ต่ำ สั้น ยาว การนับจำนวน

ทักษะ

-วิเคราะห์คำถามจากอาจารย์ผู้สอน
-การร้องเพลง
-ทำกิจกรรม การเปรียบเทียบวิเคราะห์ความเหมือนความต่างของผลไม้
-นำเสนองานในรูปแบบ Power point
- นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์

วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน  จดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่นั่งข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด



วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้

- ทำกิจกรรมการจัดกลุ่มโดยผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แสดงการมาเรียน





- นำเสนอบทความ

  •  เลขที่19 เรื่องทำไมสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเล็ก
 การสอนเด็กเล็กจะเป็นการกระตุ้นสมองเด็กเพราะเด็กในวัยนี้จะจดจำและเรียนรู้ได้ดี จากสิ่งรอบตัว ซึ่งทักษะที่สอนนี้จะสอนผ่านการอ่าน เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
  • เลขที่ 20 เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ
จะใช้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์แบบไม่ลงโทษเด็กเวลาเด็กทำการบ้านไม่เสร็จแต่จะให้เวลาเด็กทำก่อนเรียน 20 นาที และเวลาที่เด็กทำผิดก็จะไม่กากบาทลงในข้อที่ผิดแต่จะเรียกมาอธิบายข้อผิดให้ฟังและให้แก้ข้อผิดตรงนั้นเลยเพราะครุไม่อยากทำให้เด็กรู้สึกไม่ชอบคณิตศาสตร์ และยังใช้เทคนิคการสอนโดยใช้ เกม และเพลง เข้ามาใช้ในการสอนด้วย

- แต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดรูปแบบการสอนในแบบต่างๆ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้แล้วแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก็ปัญหาโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก

มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  ทัศนศึกษา สืบค้น นำเสนอผลงาน
  • การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน   จะมีพื้นฐาน 3ข้อ ของการเรียนรู้ คือ 
  1. การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย  ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
  2. การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน  ต้องมีการใช้สื่อหลายๆรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
  3. ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณืจริงที่เกี่ยวข้อง
  • STEM 
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย
  • การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก แต่จะสร้างสมาธิ ความมั่นใจ และความสำเร็จในการเรียนให้กับเด็ก
  • การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline  Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม  ลักษณะของการเรียนมีหลายรูปแบบตั้งแต่เรียนเดี่ยว เรียนเป็นคู่ เรียนกลุ่ม หรือเรียนพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

- ร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

        เพลง  บวก - ลบ

   บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ                ครูให้อีกสามใบนะเธอ

        มารวมกันนับดีดีซิเออ                ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

  บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเธอเหลือเพียงสี่ใบ

    เพลง  เท่ากัน  -  ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา          ม้ามีสี่ขา

  คนเรานั้นหนา          สองขาต่างกัน

                  ช้าม้ามี          สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
    
          แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)

เพลง  จับปู

1 2 3 4 5           จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

 6 7 8 9 10             ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

                                         กลัวฉัน กลัวฉัน กลัว       ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



ทักษะ

-ลงมือกระทำและวิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน
-การร้องเพลง
-ทำกิจกรรม เช็คเวลาที่เข้าเรียน
-นำเสนองานในรูปแบบ Power point

วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด




วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่7

ความรู้ที่ได้

 - ทำกิจกรรมเรื่องเวลา โดยการให้ติดชื่อแล้ววาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่มาเรียน




























- มอนเตเซอรี่ จะจัดกิจกรรมแบบง่ายไปยาก และจัดเป็นหมวดหมู่ จะเน้นเรื่องประสาทสัมผัส

- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • แบบบูรณาการ  คือการผสมผสานศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน ผ่านเพลง  6กิจกรรมหลัก คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ
  • แบบโครงการ คือการระดมความคิด หามติของสามชิกในห้องว่าจะเรียนเรื่องอะไร
  • แบบสมองป็นฐาน
  • แบบ STEM   S คือไช- วิทยาศาสตร์  T คือ เทคโนโลยี  E คือ เอ็นทิเนีย- วิศวะ  M คือ แม็ท - คณิตศาสตร์
-  นำเสนอโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 16  เรื่อง ผลไม้แสนสุข
ทำกิจกรรมบูรณาการ เกี่ยวกับผลไม้เด็กจะเรียนรู้รสชาติผลไม้ ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเกี่ยวกับผลไม้ โดยใช้เทคนิคคำคล้องจองในการทำกิจกรรม  และจะสอนแบบการศึกษานอกสถานที่ สอนผ่านการสัมผัสสถานการณ์จริงโดยการไปตลาด จะมีข้อตกลงและเตรียมคำถามที่จะไปถาม ซึ่งกิจกรรมนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้ ราคา จำนวน การวัด รสชาติของผลไม้ ขนาดของผลไม้ และยังได้ทักษะด้านสังคม วิทยาศาสตร์ ภาษา
  • เลขที่ 17 เรื่องกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
การมอง  - กระบอกพิมพ์ ดูในเรื่องของขนาด
ฟัง - กระบอกเสียง ฟังเสียงจากกระบอก เรียนรู้การฟังเสียงสูง ต่ำ
ใช้มือ - ใช้ผ้าปิดตาและให้สัมผัสสิ่งของ เรียนรู้เรื่องพื้นผิว ความหนาแน่น
ดมกลิ่น - มีกลิ่นต่างๆมาให้ดม เรียนรู้เรื่องของปริมาณ หอมมาก หอมน้อย
ชิมรส - มีน้ำผึ้ง น้ำมะนาว มาให้ชิม เรียนรู้เรื่องของปริมาณ หวานมาก หวานน้อย

กิจกรรมนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในชั้นเรียนที่สูงขึ้นต่อไป

- นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตามสาระมาตรฐานคณิตศาสตร์ 

   วัชรี วงศ์สะอาด  นำเสนอเรื่องรูปทรง โดยการให้เด็กหยอดรูปทรงลงตามช่องของรูปทรงนั้นๆ 

    รัชดา เทพเรียน  นำเสนอเรื่องของน้ำหนัก เล่นผ่านครื่องชั่งสองแขนโดยการวางไม้บล็อกชั่งน้ำหนัก หนัก-เบา ได้ทั้งการเรียนรู้เรื่องของปริมาณและการบวกเลข

     ภัทรวรรณ หนูแก้ว นำเสนอเรื่องรูปทรง เรียนผ่านไข่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เหยี่ยวม้า โดยการสัมผัสขนาดของไข่และจัดหมวดหมู่ไข่ ได้เรียนรู้ทั้งขนาด สี การนับ การเปรียบเทียบ

      เปมิกา ชุติมาสวรรค์ นำเสนอเรื่องรูปร่าง โดยเล่นผ่านกิจกรรมเกมการศึกษา โดยการต่อภาพเหมือน


- ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง

จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ เช่น การที่เด็กคำนวณช้าหรือคำนวณผิด และถ้าบวก ลบ เลขได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆก็ยิ่งจะทำให้เขาเสียความมั่นใจไปเรื่อยๆ


ทักษะ

- ทำกิจกรรมเรื่องเวลา โดยการให้ติดชื่อแล้ววาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่มาเรียน

- ร้องเพลง นิ้วมือของฉัน และอ่านคำคล้องจอง

- ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย โดยการทำแผนผังความคิดเรื่องสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัว บุคคลและสถานที่ สิ่งรอบตัว

- ระดมความคิด

วิธีการสอน

การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด 



วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่6

ความรู้ที่ได้

- ทำกิจกรรมการสำรวจ ความสนใจของเพื่อนในห้องเรียนว่าอยากจะไปเที่ยวไหน ระหว่างสวนรถไฟ เกาะ น้ำตก





- นำเสนองานวิจัย

  • เลขที่14  เรื่อง ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท  จุดประสงค์ก็คือเพิ่มส่งเสริมด้านการจัดคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท รูปทรง ขนาด สี ชนิด โดยผ่านกิจกรรม 24 กิจกรรม และใช้สื่อสำหรับการสอนที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ในการทดสอบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การใช้ไม้ไผ่มาตัดแล้วนำมาสอนในเรื่องของขนาด เป็นต้น
  • เลขที่15 เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยจะจัดกิจกรรมแบบเรียนปนเล่นโดยผ่านการละเล่นแบบไทย เช่น บันไดงู ม้าก้านกล้วย รีรีข้าวสาร สอนในเรื่องของจำนวนนับ 1-30  ตัวเลขคู่-คี่ รู้จักตัวเลข เปรียบเทียบน้อยกว่ามากกว่า เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น และที่สำคัญการจัดคณิตศาสตร์ควรจัดจากง่ายไปยาก และสิ่งที่ใกล้ตัว 


- เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  จะต้องสอนผ่าน นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย

- นำเสนอ กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้

  • ศุทธินี โนนริบูรณ์  นำเสนอความคิดที่ดูมาจากวีดีโอเกี่ยวกับการทำกิจกรรมโดยใช้ตุ๊กกาไปวางไว้ตามรูปภาพที่บ่งบอกถึงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่2 การวัด 
  • ยุภา ธรรมโคตร นำเสนอเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตและข้อ 3 เรขาคณิต โดยการใช้สื่อที่เป็นจิ๊กซอ ให้เด็กได้เล่น
  • กมลรัตน์ มาลัย นำเสนอการเล่นผ่านกิจกรรม บทบาทสมมติโดยการเล่นมุมร้านค้า สอนในเรื่องของเงิน ซึ่งตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 2 การวัด
  • ประภัสสร คำบอนพิทักษ์  นำเสนอ กิจกรรมให้เด็กนั่งตามชื่อที่ติดไว้ เพื่อจะสอนในเรื่องของตำแหน่ง ระยะทาง ซึ่งจะตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 3 เรขาคณิต
  • ปรางชมพู บุญชม นำเสนอในเรื่องของการจัดประเภทสิ่งของ โดยการให้เด็กหยิบสิ่งของมาหลายๆชนิด แล้วให้เด็กจัดประเภทสิ่งของที่หยิบมา
- ระดมความคิดแต่งเพลง รู้ค่าของจำนวน

ไข่ 2 ฟอง  
กอง 2 ใบ 
ไก่ 2 ตัว
 วัว 2 เขา 
เกเหลา 2 ชาม  
นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

ทักษะ

- ทำกิจกรรมการสำรวจ ความสนใจของเพื่อนในห้องเรียนว่าอยากจะไปเที่ยวไหน ระหว่างสวนรถไฟ เกาะ น้ำตก 

- ทดสอบก่อนเรียน

- ระดมความคิดในการแต่งเพลง และในเนื้อหาที่เรียน

- ทำกิจกรรมการต่อรูปทรงและวาดรูปทรงในตาราง

วิธีการสอน

- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- ระดมความคิดแต่งเพลงร่วมกับนักศึกษา

- บรรยายประกอบ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อรูปทรงการแต่งเพลงร่วมกันในห้องเรียน

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่5

ความรู้ที่ได้รับ


- เลขที่ 11 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยมีเป้าหมายในการจัด คือ พัฒนาความคิดรวบยอดเช่น การบวก การลบ ทำให้เด็กมีความเข้าใจพื้น

ฐานในเรื่องของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การหาคำตอบด้วยตนเอง

-  เพลง จัดแถว

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า

ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ซึ่งเพลงนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้เพราะ

จะสอนในเรื่องของทิศทาง

- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

  • เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานเตรียมความพร้อมที่ต้องนำไปใช้ในการเรียนชั้นประถมศึกษา
  • ต้องเป็นรูปธรรมและก็ลงมือปฏิบัติ

- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เช่น การบวก การนำไปใช้  และสาระมาตรฐานการเรียนรู้

คณิตศาสตร์สู่การลงมือปฏิบัติหรือการลงมือทำมีประโยชน์ คือ ทำให้เรารู้คุณภาพของตัวเอง

 ซึ่งสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ครฺตศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาระด้วยกัน


  1. จำนวนและการดำเนินการ - เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
  2. การวัด  - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  3. เรขาคณิต - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  4. พีชคณิต - เข้าใจแบบรูปที่สัมพันธ์กัน
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม นำเสนอในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ - ใช้แก้ปัญหา ให้เหตุผล
- คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบ
  • มีความคิดเชิงคณิต เช่น จำนวนนับ 1 ถึง 20  เข้าใจหลักการนับ
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น

ทักษะ

- ระดมความคิด แบบทดสอบก่อนเรียน

- ตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

-  ทำกิจกรรมเช็คชื่อเข้าเรียน

วิธีการสอน


- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

- ยกตัวอย่างประกอบในการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน

- อุปกรณ์ในการสอนสะดวกต่อการใช้งาน

- บรรยากาศเย็นสบาย

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา  บางครั้งมีเบลอบ้างเหมือนไม่ค่อยมีสมาธิ

ประเมินเพื่อน

- มีเพื่อนบางส่วนเข้าเรียนสาย มีคุยกันบ้างบางเวลาที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีให้ร้องเพลงด้วยเพื่อกระตุ้นไม่ให้ง่วงมาก  และมีการพักประมาณ 10 นาที

เพื่อผ่อนคลาย

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

  
  เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วย "นิทาน"


ที่มา : มหาวิทยาลัยราชนครินทร์ จ. ฉะเชิงเทรา



         การใช้ นิทานเป็นสื่อในการช่วยสอน  จะทำให้เด็กรู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชา

คณิตศาสตร์   เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณการสอนเด็กๆ  จะทำให้

เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว จะทำให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิด 

 ตัวอย่างเช่น 

นิทานเรื่อง ลูกหมูสามตัว จะสอนในเรื่องของการเปรียบเทียบ ได้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด

ของลูกหมูก็จะได้ คำว่า ใหญ่กว่า เล็กกว่า  เป็นต้น

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย 

      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

 ที่มา :ปริญญานิพนธ์ ของ พิจิตรา เกษประดิษฐ์

  ปี พ.ศ: 2552   
 
  ทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่1

ภาคเรียน ที่2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร


       ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม

ตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาส

เลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะ

พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้
  
     1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้

เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอด

แทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำ

กิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้

ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกต

ขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง

     3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมา

ทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดย

การจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันพุธที่28 มกราคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่4

ความรู้ที่ได้


การทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา โดยการนำชื่อตัวเองไปติดหน้ากระดานว่ามาก่อนหรือหลัง เกณฑ์ในการทำกิจกรรม คือ 12.00 น.

- เลขที่ 7-9 นำเสนอโทรทัศน์ครู


  1. เป็นการสอนเกี่ยวกับการนับลข โดยใช้ผลไม้เข้ามาเป็นสื่อใช้ในการสอน
  2. เป็นวีดีโอการสอนคณิตศาสตร์เด็กอนุบาล 2-3 โดยครูจอย จากรายการ ท็อกอะเบาร์คิสการใช้สื่อเข้ามาใช้ในการสอน ใช้ศิลปะในการสอน
  3. วีดีโอเรื่อง เลขรอบตัวเรา ก่อนรียนจะมีการเตรียมตัวก่อนโดยการอบอุ่นร่างกาย สอนเลขผ่านเพลงและสัญลักษณ์ต่างๆ
-  การอนุรักษ์ คือการใช้หตุผล โดยจะประกอบไปด้วยการนับ การจับคู่ การเปรียบเทียบ

- คุณลักษณะตามวัยของเด็กหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ

คุณลักษณะตามวัยก็คือพฤติกรรมตามวัย จะต้องีการพัฒนาไปตามธรรมชาติ พัฒนาครบทั้ง 4  ด้าน คือ 

ร่างกาย อารมณ์จิตใจ  สังคม  สติปญญา 

- ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์ 
  1.  ความรู้ด้านกายภาพสามารถจับต้องได้ รับรู้ได้
  2. ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายใน เกิดจากการเชื่อมโยงเข้ากบทฤษฎีโดยการลงมือปฏิบัติ
- จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย

  1. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การรู้จักคำศัพท์  เช่น ตัวเลข ขนาด รูปร่าง อุณหภูมิ
  2. พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ช่น การบวก การลบ
  3. รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  4. ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การรวมกัน มากกว่า น้อยกว่า
  5. ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ที่สำคัญการกำหนดกฎเกณฑ์ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องกำหนดเกณฑ์เดียว เพื่อความเข้าใจและไม่สับสนของเด็ก

- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

  1. การสังกต ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
  2. การจำแนกประเภท
  3. การเปรียบเทียบ จะต้องมีตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป
  4. การจัดลำดับ เป็นทักษะการเปรียบทียบขั้นสูง
  5. การวัด มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์หรือการใช้เหตุผล   การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่ใช้หน่วยวัดมาตรฐานในการวัด
  6. การนับ สำหรับเด็กจะชอบการนับแบบท่องจำหรือการนับปากปล่า
  7. รูปทรงและขนาด เด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม
- ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์   จะประกอบไปด้วย การนับ ตัวเลข การจับคู่  การจัดประเภท

เปรียบเทียบ จัดลำดับ รูปทรงและเนื้อที่

- หลักการสอนของคณิตศาสตร์

  1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็น ความจำเป็นและประโยชน์ของสิ่งที่ครูสอน
  2. เปิดโอกาสให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง
  3. มีเป้าหมายวางแผน
  4. เอาใจใส่การเรียนรู้ตามลำดับขั้นพัฒนาการ
ทักษะ

- การทำกิจกรรมเปรียบเทียบเวลา โดยการนำชื่อตัวเองไปติดหน้ากระดานว่ามาก่อนหรือหลัง เกณฑ์ในการทำกิจกรรม คือ 12.00 น. 

- ทดสอบก่อนเรียน

- ระดมความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

วิธีการสอน

- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงมาประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

- โต๊ะที่จัดในห้องเรียนไม่ค่อยสะดวกในการเรียนสักเท่าไหร่

- บรรยากาศก็เย็นสบายดี

- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อมใช้ในการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

- รู้สึกว่าไม่ค่อยสดชื่นสักเท่าไหร่ในการเรียนคาบนี้ เนื่องจากคาบเรียนต่อกันจึงทำให้ง่วง และเหนื่อยนิด

หน่อย แต่นั่งเรียนไปเรื่อยๆก็เริ่มดีขึ้น สดชื่นขึ้น

ประเมินเพื่อน

- มีคนเข้าสาย และมีคุยกันบ้างสำหรับเพื่อนที่นั่งข้างหลังห้อง 

- ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น

ประเมินอาจารย์

- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ เข้าสอนตรงเวลา

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันศุกร์ ที่ 23 มราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่3


ความรู้ที่ได้

- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  เปรียบเสมือน ขั้นบันได

- ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ ทำให้รู้จักเด็กมากขึ้น มีความตระหนักในการจัดการเรียนรู้และทำให้จัด

ประสบการณ์ให้สอดคล้องกับตัวเด็ก

- ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการทางสติปัญญาและการทำงานของสมอง


  • พัฒนาการทางสติปัญญา คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ในด้านความคิดและภาษา  
สติปัญญา   ....... ภาษา

                  ........ ความคิด  ประกอบด้วย เชิงเหตุผล ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

                                                  "              สร้างสรรค์  



สติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง  คือ การทำงานของสมองนำมาจัดลำดับขั้นตอนตามช่วงอายุ

แล้วเกิดการปลี่ยนแปลงเป็นพัฒนาการทางด้านสติปัญญา


- พัฒนาการด้านสติปัญญาตามแนวคิด เพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้

เพียเจต์ :  เป็นการเรียนรู้ที่เป็นลำดับขั้นตอน ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

บรูเนอร์ : มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง

ไวกอตซกี้ :  การจัดการรียนรู้จต้องคำนึงถึงระดับพัฒนาการ 2 ระดับ คือ พัฒนาการที่เป็นจริงแล

พัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้

- ความหมายของการเรียนรู้และประโยชน์ของการเรียนรู้


การเรียนรู้ คือ การรับรู้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตให้อยู่รอด

- วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


  1. เรียนรู้จากการเลียนแบบ
  2. การเล่น คือ การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผสทั้ง 5


ทักษะ

- ทดสอบก่อนเรียน

- แสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม ในเนื้อหาที่เรียน

วิธีสอน

- การใช้คำถาม

- วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน

-  บรรยายเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ช่วงแรกๆ ไม่ค่อยอำนวยต่อการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

-  มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนถึงแม้บางครั้งอาจจะตอบคำถามไม่ได้ แต่ก็ตั้งใจและให้ความสำคัญในการ

เรียน

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนที่นั่งข้างหลังคุยกันมากจนน่ารำคาญ บางทีก็รู้สึกโมโห มีบางคนเอางานวิชาอื่นขึ้นมาทำในคาบเรียน

ประเมินอาจารย์

- อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจชอบตอนที่อาจารย์อธิบายความหมายของพัฒนาการแล้วเปรียบเทียบเป็นขั้น

บันได

- อาจารย์อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม บางทีก็มีเล่นมุขสร้างเสียงหัวเราะให้กับนักศึกษา


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน ประจำวันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่2


ความรู้ที่ได้รับ

- นำเสนอบทความเลขที่ 1-3

  บทความที่1  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดสภาพการเรียนรู้และการวางแผนในการเรียนรู้

โดยผ่านวิธีการให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ไม่เคร่งเครียด เพราะการลงมือปฏิบัติจะเป็นการกระตุ้นสมอง

ทำให้เกิดความคิดสิ่งใหม่ๆ โดยจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเพื่อเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด


 บทความที่ 2  การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กวัยซน  คณิตศาสตร์มีความสำคัญกับเราตั้งแต่อยู่ในท้อง

การพัฒนาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย เพื่อทำให้เกิดการกระตุ้นทางสมอง

ทำให้เกิดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์


- สรุปสาระสำคัญ

1. ความหมายของคณิตศาสตร์  คือ วิชาที่เกี่ยวกับการกับการคำควณและยังเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

ประจำวันและอาชีพทุกๆอาชีพ เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่จำนวน ตัวเลข เด็กจะเรียนรู้

คณิตศาสตร์ได้จากการสังเกต เปรียบเทียบ และถ้าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวสามารถจับต้องได้ยิ่งจะทำให้เด็ก

เรียนรู้ได้ดีขึ้น

2. ความสำคัญของคณิตศาสตร์  คือ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์

เป็นผู้ที่มีเหตุผลมีนิสัยที่ละเอียดอ่อน รอบคอบ มีความไหวพริบปฎิญาณที่ดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้

ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข

3. ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ คือ เป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสม กับการ

พัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดและมีประสิทธิภาพ
           
                             มีทั้งหมด 5 ทักษะดังนี้

                       1.จำนวนและการดำเนินการ

                       2.การวัด

                       3.เลขาคณิต

                       4.พีชคณิต

                       5.การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

               
4. ทักษะพื้นฐานของคณิตศาสตร์ คือ  ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาด

ของคณิตศาสตร์ช่วยส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่างๆช่วยในการปลูกกฝังและอบรมทำให้มีนิสัย

ละเอียด สุขุม และ รอบคอบ

  ทักษะ

- ทดสอบก่อนเรียน

การทำกลุ่ม

-  แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาที่เรียน


วีธีสอน

 - มีการบรรยายประกอบ power point

- การใช้คำถาม

ประเมินสภาพห้องเรียน  

มีสภาพที่เหมาะกับเรียน แอร์เย็นสบาย โต๊ะบางตัวไม่ได้คุณภาพ มีชำรุดบ้าง

ประเมินตนเอง

เตรียมตัวมาเรียนอย่างดี แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความสำคัญในการทำงานกลุ่ม

บางครั้งก็ไม่มีสมาธิอาจจะมีง่วงบ้าง


ประเมินเพื่อน

มีบางคนอาจจะขาดความพร้อมในการเรียน เช่น มีการขออนุญาตไปเข้าห้องน้ำในระหว่างเรียน และตอน

ที่อาจารย์เช็คชื่อ แต่เวลาทำงานกลุ่มทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ ให้แง่คิดในการนำเสนองานและอธิบายเทคนิคการสรุป

ใจความสำคัญที่ถูกต้อง


วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความคณิตศาสตร์


    Math for Early Childhood  
                        การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                                                    ที่มา: แผนกอนุบาล ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
                                                                                          ผู้เขียน: อ.กาญจนา คงสวัสดิ์




  การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทาง

คณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการ สำหรับเด็กวัย3-4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตรืผ่านสิ่ง

ที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้ว

เอาเคื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร 

เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลขต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5หรือ 6 ขวบ 

จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว


 คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็กๆมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน 


รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน ( เรื่องของเวลา) การแต่งกาย ( การ

จับคู่เสื้อผ้า) การรับประทานอาหาร ( การคาดคะเนปริมาณ)  การเดินทาง ( เวลา ตัวลขที่สัญญาณไฟ 

ทิศทาง) การซื้อของ ( เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ





วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2558

บันทึกการเรียน ครั้งที่1

1.แนะแนวการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีเกณฑ์

การให้คะแนน 5 อย่าง ด้วยกัน คือ

- คุณธรรมจริยธรรม

-  ความรู้

- ทักษะ

- ความสัมพันธ์

- เทคโนโลยี

2.อธิบายการทำอนุทิน ว่าจะต้องประกอบไปด้วย

- ความรู้ที่ได้รับ

- ทักษะ เช่น การคิด การแสดงความคิดเห็น การทำงานกลุ่ม

- วิธีการสอน เช่น การบรรยาย การใช้คำถาม การบรรยายประกอบ power point

- ประเมิน  เช่น สภาพห้องเรียน  ตัวเอง เพื่อน อาจารย์

3. สรุปความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

3.1  การจัด - ทำสื่อเกี่ยวกับการนับเลข

                 -ส่งเสริมกิจกรรมและประยุกต์การเล่นให้เชื่อมโยงกับการนับเลข

3.2  ประสบการณ์ - การร้องเพลง

                            - การเล่านิทาน

                            -ผลิตสื่อเกี่ยวกับการนับจำนวน

3.3  เด็กปฐมวัย  -การเล่น

                         - สื่อการเรียนรู้

3.4  คณิตศาสตร์  -  ตัวเลข

                           - การบวกเลข

                            -การนับ

4. ได้รับมอบหมายงานให้ค้นคว้าบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ แล้วสรุปใจความสำคัญจากบทความ



ประเมินสภาพห้องเรียน

วันนี้สภาพห้องเรียนไม่ค่อยเหมาะสำหรับการเรียน เพราะขาดโปรเจ็กเตอร์ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอน 

ประเมินตัวเอง

คิดว่าตัวเองมีความตั้งใจในการเรียนและทำกิจกรรม ถึงแม้บางครั้งอาจจะไม่ค่อยมีสมาธิ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมในห้องเรียน มีการให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันในการทำงาน 

บางครั้งก็มีคุยกันบ้างในระหว่างที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการเตรียมตัวมาอย่างดีในการสอน เตรียมเอกสารมาแนะนำรายวิชาและอธิบายรายวิชาได้

ละเอียดและเข้าใจง่าย แต่อาจจะไม่เห็นเอกสารเพราะห้องเรียนไม่มีโปรเจ็กเตอร์  ดุอาจารย์เป็นคน

อัธยาศัยดีทำให้นักศึกษายิ้มและหัวเราะได้ตลอดในการเรียน