วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้

- ทำกิจกรรมการจัดกลุ่มโดยผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แสดงการมาเรียน





- นำเสนอบทความ

  •  เลขที่19 เรื่องทำไมสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเล็ก
 การสอนเด็กเล็กจะเป็นการกระตุ้นสมองเด็กเพราะเด็กในวัยนี้จะจดจำและเรียนรู้ได้ดี จากสิ่งรอบตัว ซึ่งทักษะที่สอนนี้จะสอนผ่านการอ่าน เป็นการกระตุ้นสมองซีกขวาทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
  • เลขที่ 20 เรื่อง คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุกและเข้าใจ
จะใช้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์แบบไม่ลงโทษเด็กเวลาเด็กทำการบ้านไม่เสร็จแต่จะให้เวลาเด็กทำก่อนเรียน 20 นาที และเวลาที่เด็กทำผิดก็จะไม่กากบาทลงในข้อที่ผิดแต่จะเรียกมาอธิบายข้อผิดให้ฟังและให้แก้ข้อผิดตรงนั้นเลยเพราะครุไม่อยากทำให้เด็กรู้สึกไม่ชอบคณิตศาสตร์ และยังใช้เทคนิคการสอนโดยใช้ เกม และเพลง เข้ามาใช้ในการสอนด้วย

- แต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดรูปแบบการสอนในแบบต่างๆ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
เป็นการสอนแบบให้ความสำคัญกับเด็กส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้แล้วแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก็ปัญหาโดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก

มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรม คือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  ทัศนศึกษา สืบค้น นำเสนอผลงาน
  • การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน   จะมีพื้นฐาน 3ข้อ ของการเรียนรู้ คือ 
  1. การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวผ่อนคลาย  ก็คือการสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทายชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
  2. การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน  ต้องมีการใช้สื่อหลายๆรูปแบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างและมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มีการเชื่อมโยงความรู้หลายๆอย่าง
  3. ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง ให้เด็กลงมือทดลอง ประดิษฐ์หรือได้เล่าประสบการณืจริงที่เกี่ยวข้อง
  • STEM 
จะเน้นให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และทักษะกระบวนการต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานหรือออกแบบวิธีการภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีรายละเอียดที่ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัย
  • การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่
ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์จะเป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้และแก้ไขให้ถูกต้องด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก แต่จะสร้างสมาธิ ความมั่นใจ และความสำเร็จในการเรียนให้กับเด็ก
  • การเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้วย Storyline  Approach
เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ความยากง่าย ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาวุฒิภาวะและทักษะทางสังคม  ลักษณะของการเรียนมีหลายรูปแบบตั้งแต่เรียนเดี่ยว เรียนเป็นคู่ เรียนกลุ่ม หรือเรียนพร้อมกันทั้งชั้นเรียน

- ร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

        เพลง  บวก - ลบ

   บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ                ครูให้อีกสามใบนะเธอ

        มารวมกันนับดีดีซิเออ                ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

  บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเธอเหลือเพียงสี่ใบ

    เพลง  เท่ากัน  -  ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา          ม้ามีสี่ขา

  คนเรานั้นหนา          สองขาต่างกัน

                  ช้าม้ามี          สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
    
          แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)

เพลง  จับปู

1 2 3 4 5           จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

 6 7 8 9 10             ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

                                         กลัวฉัน กลัวฉัน กลัว       ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



ทักษะ

-ลงมือกระทำและวิเคราะห์โดยคำถามจากอาจารย์ผู้สอน
-การร้องเพลง
-ทำกิจกรรม เช็คเวลาที่เข้าเรียน
-นำเสนองานในรูปแบบ Power point

วิธีการสอน

-ใช้การบรรยายประกอบ Power point
-ใช้คำถามในการสอน
-มีการระดมความคิดร่วมกับนักศึกษา
-การแนะนำ
-การยกตัวอย่าง
-การร้องเพลง
-การมีกิจกรรม
-การลงมือปฏิบัติและให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยใช้คำถาม
-การประเมิน การนำเสนอผลงานของนักศึกษา

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น