วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่7

ความรู้ที่ได้

 - ทำกิจกรรมเรื่องเวลา โดยการให้ติดชื่อแล้ววาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่มาเรียน




























- มอนเตเซอรี่ จะจัดกิจกรรมแบบง่ายไปยาก และจัดเป็นหมวดหมู่ จะเน้นเรื่องประสาทสัมผัส

- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • แบบบูรณาการ  คือการผสมผสานศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน ผ่านเพลง  6กิจกรรมหลัก คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ
  • แบบโครงการ คือการระดมความคิด หามติของสามชิกในห้องว่าจะเรียนเรื่องอะไร
  • แบบสมองป็นฐาน
  • แบบ STEM   S คือไช- วิทยาศาสตร์  T คือ เทคโนโลยี  E คือ เอ็นทิเนีย- วิศวะ  M คือ แม็ท - คณิตศาสตร์
-  นำเสนอโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 16  เรื่อง ผลไม้แสนสุข
ทำกิจกรรมบูรณาการ เกี่ยวกับผลไม้เด็กจะเรียนรู้รสชาติผลไม้ ใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเกี่ยวกับผลไม้ โดยใช้เทคนิคคำคล้องจองในการทำกิจกรรม  และจะสอนแบบการศึกษานอกสถานที่ สอนผ่านการสัมผัสสถานการณ์จริงโดยการไปตลาด จะมีข้อตกลงและเตรียมคำถามที่จะไปถาม ซึ่งกิจกรรมนี้เด็กๆจะได้เรียนรู้ ราคา จำนวน การวัด รสชาติของผลไม้ ขนาดของผลไม้ และยังได้ทักษะด้านสังคม วิทยาศาสตร์ ภาษา
  • เลขที่ 17 เรื่องกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
การมอง  - กระบอกพิมพ์ ดูในเรื่องของขนาด
ฟัง - กระบอกเสียง ฟังเสียงจากกระบอก เรียนรู้การฟังเสียงสูง ต่ำ
ใช้มือ - ใช้ผ้าปิดตาและให้สัมผัสสิ่งของ เรียนรู้เรื่องพื้นผิว ความหนาแน่น
ดมกลิ่น - มีกลิ่นต่างๆมาให้ดม เรียนรู้เรื่องของปริมาณ หอมมาก หอมน้อย
ชิมรส - มีน้ำผึ้ง น้ำมะนาว มาให้ชิม เรียนรู้เรื่องของปริมาณ หวานมาก หวานน้อย

กิจกรรมนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในชั้นเรียนที่สูงขึ้นต่อไป

- นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ตามสาระมาตรฐานคณิตศาสตร์ 

   วัชรี วงศ์สะอาด  นำเสนอเรื่องรูปทรง โดยการให้เด็กหยอดรูปทรงลงตามช่องของรูปทรงนั้นๆ 

    รัชดา เทพเรียน  นำเสนอเรื่องของน้ำหนัก เล่นผ่านครื่องชั่งสองแขนโดยการวางไม้บล็อกชั่งน้ำหนัก หนัก-เบา ได้ทั้งการเรียนรู้เรื่องของปริมาณและการบวกเลข

     ภัทรวรรณ หนูแก้ว นำเสนอเรื่องรูปทรง เรียนผ่านไข่ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เหยี่ยวม้า โดยการสัมผัสขนาดของไข่และจัดหมวดหมู่ไข่ ได้เรียนรู้ทั้งขนาด สี การนับ การเปรียบเทียบ

      เปมิกา ชุติมาสวรรค์ นำเสนอเรื่องรูปร่าง โดยเล่นผ่านกิจกรรมเกมการศึกษา โดยการต่อภาพเหมือน


- ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง

จะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ เช่น การที่เด็กคำนวณช้าหรือคำนวณผิด และถ้าบวก ลบ เลขได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆก็ยิ่งจะทำให้เขาเสียความมั่นใจไปเรื่อยๆ


ทักษะ

- ทำกิจกรรมเรื่องเวลา โดยการให้ติดชื่อแล้ววาดรูปนาฬิกาตามเวลาที่มาเรียน

- ร้องเพลง นิ้วมือของฉัน และอ่านคำคล้องจอง

- ทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย โดยการทำแผนผังความคิดเรื่องสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัว บุคคลและสถานที่ สิ่งรอบตัว

- ระดมความคิด

วิธีการสอน

การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด 



วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่6

ความรู้ที่ได้

- ทำกิจกรรมการสำรวจ ความสนใจของเพื่อนในห้องเรียนว่าอยากจะไปเที่ยวไหน ระหว่างสวนรถไฟ เกาะ น้ำตก





- นำเสนองานวิจัย

  • เลขที่14  เรื่อง ผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท  จุดประสงค์ก็คือเพิ่มส่งเสริมด้านการจัดคณิตศาสตร์ ด้านการจัดประเภท รูปทรง ขนาด สี ชนิด โดยผ่านกิจกรรม 24 กิจกรรม และใช้สื่อสำหรับการสอนที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ในการทดสอบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การใช้ไม้ไผ่มาตัดแล้วนำมาสอนในเรื่องของขนาด เป็นต้น
  • เลขที่15 เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  โดยจะจัดกิจกรรมแบบเรียนปนเล่นโดยผ่านการละเล่นแบบไทย เช่น บันไดงู ม้าก้านกล้วย รีรีข้าวสาร สอนในเรื่องของจำนวนนับ 1-30  ตัวเลขคู่-คี่ รู้จักตัวเลข เปรียบเทียบน้อยกว่ามากกว่า เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่น และที่สำคัญการจัดคณิตศาสตร์ควรจัดจากง่ายไปยาก และสิ่งที่ใกล้ตัว 


- เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  จะต้องสอนผ่าน นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย

- นำเสนอ กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้

  • ศุทธินี โนนริบูรณ์  นำเสนอความคิดที่ดูมาจากวีดีโอเกี่ยวกับการทำกิจกรรมโดยใช้ตุ๊กกาไปวางไว้ตามรูปภาพที่บ่งบอกถึงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่2 การวัด 
  • ยุภา ธรรมโคตร นำเสนอเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตและข้อ 3 เรขาคณิต โดยการใช้สื่อที่เป็นจิ๊กซอ ให้เด็กได้เล่น
  • กมลรัตน์ มาลัย นำเสนอการเล่นผ่านกิจกรรม บทบาทสมมติโดยการเล่นมุมร้านค้า สอนในเรื่องของเงิน ซึ่งตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 2 การวัด
  • ประภัสสร คำบอนพิทักษ์  นำเสนอ กิจกรรมให้เด็กนั่งตามชื่อที่ติดไว้ เพื่อจะสอนในเรื่องของตำแหน่ง ระยะทาง ซึ่งจะตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 3 เรขาคณิต
  • ปรางชมพู บุญชม นำเสนอในเรื่องของการจัดประเภทสิ่งของ โดยการให้เด็กหยิบสิ่งของมาหลายๆชนิด แล้วให้เด็กจัดประเภทสิ่งของที่หยิบมา
- ระดมความคิดแต่งเพลง รู้ค่าของจำนวน

ไข่ 2 ฟอง  
กอง 2 ใบ 
ไก่ 2 ตัว
 วัว 2 เขา 
เกเหลา 2 ชาม  
นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

ทักษะ

- ทำกิจกรรมการสำรวจ ความสนใจของเพื่อนในห้องเรียนว่าอยากจะไปเที่ยวไหน ระหว่างสวนรถไฟ เกาะ น้ำตก 

- ทดสอบก่อนเรียน

- ระดมความคิดในการแต่งเพลง และในเนื้อหาที่เรียน

- ทำกิจกรรมการต่อรูปทรงและวาดรูปทรงในตาราง

วิธีการสอน

- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- ระดมความคิดแต่งเพลงร่วมกับนักศึกษา

- บรรยายประกอบ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

- บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน

-  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

-  เพื่อนที่หลังข้างหลังคุยกันเสียงดังมาก

ประเมินอาจารย์

- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อรูปทรงการแต่งเพลงร่วมกันในห้องเรียน

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่5

ความรู้ที่ได้รับ


- เลขที่ 11 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยมีเป้าหมายในการจัด คือ พัฒนาความคิดรวบยอดเช่น การบวก การลบ ทำให้เด็กมีความเข้าใจพื้น

ฐานในเรื่องของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การหาคำตอบด้วยตนเอง

-  เพลง จัดแถว

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า

ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ซึ่งเพลงนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้เพราะ

จะสอนในเรื่องของทิศทาง

- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

  • เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานเตรียมความพร้อมที่ต้องนำไปใช้ในการเรียนชั้นประถมศึกษา
  • ต้องเป็นรูปธรรมและก็ลงมือปฏิบัติ

- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เช่น การบวก การนำไปใช้  และสาระมาตรฐานการเรียนรู้

คณิตศาสตร์สู่การลงมือปฏิบัติหรือการลงมือทำมีประโยชน์ คือ ทำให้เรารู้คุณภาพของตัวเอง

 ซึ่งสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ครฺตศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาระด้วยกัน


  1. จำนวนและการดำเนินการ - เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
  2. การวัด  - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  3. เรขาคณิต - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  4. พีชคณิต - เข้าใจแบบรูปที่สัมพันธ์กัน
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม นำเสนอในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ - ใช้แก้ปัญหา ให้เหตุผล
- คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบ
  • มีความคิดเชิงคณิต เช่น จำนวนนับ 1 ถึง 20  เข้าใจหลักการนับ
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น

ทักษะ

- ระดมความคิด แบบทดสอบก่อนเรียน

- ตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

-  ทำกิจกรรมเช็คชื่อเข้าเรียน

วิธีการสอน


- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

- ยกตัวอย่างประกอบในการสอน

ประเมินสภาพห้องเรียน

- อุปกรณ์ในการสอนสะดวกต่อการใช้งาน

- บรรยากาศเย็นสบาย

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา  บางครั้งมีเบลอบ้างเหมือนไม่ค่อยมีสมาธิ

ประเมินเพื่อน

- มีเพื่อนบางส่วนเข้าเรียนสาย มีคุยกันบ้างบางเวลาที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีให้ร้องเพลงด้วยเพื่อกระตุ้นไม่ให้ง่วงมาก  และมีการพักประมาณ 10 นาที

เพื่อผ่อนคลาย

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

  
  เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วย "นิทาน"


ที่มา : มหาวิทยาลัยราชนครินทร์ จ. ฉะเชิงเทรา



         การใช้ นิทานเป็นสื่อในการช่วยสอน  จะทำให้เด็กรู้สึกสนุกและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชา

คณิตศาสตร์   เพราะเด็กปฐมวัยทุกคนชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณการสอนเด็กๆ  จะทำให้

เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว จะทำให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิด 

 ตัวอย่างเช่น 

นิทานเรื่อง ลูกหมูสามตัว จะสอนในเรื่องของการเปรียบเทียบ ได้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด

ของลูกหมูก็จะได้ คำว่า ใหญ่กว่า เล็กกว่า  เป็นต้น

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย 

      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

 ที่มา :ปริญญานิพนธ์ ของ พิจิตรา เกษประดิษฐ์

  ปี พ.ศ: 2552   
 
  ทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่1

ภาคเรียน ที่2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร


       ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม

ตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาส

เลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะ

พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้
  
     1. ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้

เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอด

แทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำ

กิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้

ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกต

ขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง

     3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมา

ทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดย

การจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม